การเดินทางสำรวจบริเวณขั้วโลกเหนือของช้างแวน (Changvan Expedition in the North Pole Region)
Ahoy Matey! กลับมาอีกครั้งกับการเดินทางของช้างแวน เมื่อกลางปี 2024 หลังจากช้างแวนกลับมาจากทริปแอนตาร์กติกา ช้างแวนและอิ้งค์ นักวิจัยสาวหน้ามนคนเดิมก็ได้เริ่มออกเดินทางอีกครั้งในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยจุดหมายปลายทางในการออกเดินทางครั้งนี้คืออาร์กติก ทะเลน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือ เราเดินทางจากประเทศเกาหลีใต้ใช้เวลาเดินทางเกือบสองอาทิตย์ใน Baring Sea เพื่อไปยังจุดพักแรกที่เมือง Nome, Alaska นักวิจัย 40 กว่าชีวิตได้ทำการขึ้นเรือและจัดเตรียมงานของตนเองห้องปฏิบัติการในเรือ Araon เพื่อเตรียมพร้อมในการสำรวจในครั้งนี้ โดยเส้นทางในการสำรวจเราจะเริ่มออกเดินทางจาก Nome, Alaska ไปยัง Arctic Ocean บริเวณ Chukchi Sea ในทางตอนเหนือของ Alaska
แผ่นน้ำแข็งบริเวณแถบขั้วโลกเหนือไม่แตกต่างจากแถบขั้วโลกใต้นักเพียงแต่ว่าถ้าสังเกตด้วยตาเปล่าก็สามารถบอกได้ว่าแผ่นน้ำแข็งที่ขั้วเหนือนั้นมีความหนาน้อยกว่า เราสามารถสังเกตเห็น Algae ที่ติดอยู่ตามแผ่นน้ำแข็ง และเหล่าแมงกระพรุ่นในน้ำทะเล
ในการสำรวจรอบแรกนี้ (ARA15A) ทีมวิจัยมีจุดมุ่งหมายในการสำรวจน้ำทะเล น้ำแข็ง และสิ่งมีชีวิต ดังนั้นเป้าหมาแรกของพวกเขาคือการตั้งแคมป์บนแผ่นน้ำแข็ง Arctic หรือเรียกว่า “Ice Camp” โดยเริ่มจากการนำเฮลิคอปเตอร์สำรวจแผ่นน้ำแข็งที่หนาและดูปลอดภัย จากนั้นนักวิจัยได้ลงสำรวจพื้นที่เพื่อปักธงสีแดง เพื่อเป็นสัญญาณให้เรือเคลื่อนที่ไปจอดยังจุดนั้น ทีมสำรวจใช้เวลา 2 วันในการค้นหา เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการบิน และน้ำแข็งแผ่นหนาที่หายากเหลือเกิน จนในที่สุดก็สามารถเจอจุดที่เหมาะสมกับการตั้งแคมป์ ด้วยความหนาประมาณ 3 เมตร ที่ตำแหน่งละติจูดที่ 79.30 องศาเหนือ
ในขณะที่กลุ่มวิจัยต่างๆได้ทำงานวิจัยบนแผ่นน้ำแข็งที่ Ice Camp อิ้งค์ได้มีโอกาสเข้าร่วมให้ความร่วมมือกับกลุ่มวิจัยของ Korea Polar Research Institute (KOPRI) นำทีมโดย Dr. Catherine Lalande เพื่อศึกษาวิจัยทางด้าน Ecology and Evolutionary Biology โดยทีมได้ทำการเจาะน้ำแข็งที่มีความหนาประมาณ 3 เมตรจำนวน 10 จุด เพื่อทำการหย่อนอุปกรณ์ที่เรียกว่า Trap ลงไป ซึ่ง trap เป็นกับดักเป็นลักษณะหลอดบรรจุน้ำทะเลและสารทดลองทางเคมี
Ice Camp ใช้เวลาการทำงาน 3 วันถ้วน ในเช้าของวันสุดท้ายก่อนที่เรือจะเคลื่อนที่เราได้พบกับเจ้าถิ่นตัวใหญ่ ที่ได้เดินทางมาทักทายด้วยอาการหิวโซและสงสัยว่า พวกนายมาทำอะไรกัน หมีขั้วโลกจำนวน 3 ตัว แม่และลูกๆ ที่อาศัยประจำยังบริเวณนี้
นอกจากนี้ อิ้งค์ ยังได้เข้าไปช่วยนักวิจัยเพื่อเก็บตัวอย่าง Netting, Dredge, และ Fishing
รูมเมทของอิ้งค์เป็นชาว เยอรมัน และเบลเจียม Franzi และ Gerlien ทั้งสองท่านมาจากสถาบัน Alfred Wegener Institute (AWI), Germany Franzi เป็นนักศึกษาปริญญาโท ศึกษาเกี่ยวกับแพลงค์ตอนสัตว์ ส่วน Gerlien นักวิจัยหลังปริญญาเอกศึกษาแมงกระพรุน
การเดินทางและทำวิจัยในทริปนี้ใช้เวลาไม่นานนัก ประมาณ 1 เดือน หลังจากจบงานเรือได้นำส่งนักวิจัยที่ Barrow, Alaska และให้นักวิจัยกลุ่มใหม่ขึ้นมาแทนเพื่อทำงานวิจัยใน Voyage2
ในการเดินทางมายัง Arctic ช้างแวนได้ทำหน้าที่ตรวจวัดอนุภาคพลังงานสูงจากอวกาศ ที่ผ่านเข้ามายังชั้นบรรยากาศของโลก และผ่านเข้ามายังเครื่องตรวจวัดนิวตรอน ที่ติดตั้งบนเรือตัดน้ำแข็งสัญชาติเกาหลีใต้ Araon การทำงานของช้างแวนเป็นไปอย่างเรียบง่ายและผลการทดลองที่ดี แต่ติดปัญหาเพียงเล็กน้อย เมื่อเราสังเกตุเห็นผลจากข้อมูลอัตราการนับ หลอดที่ 1 มีผลอัตราการนับที่แปลกไปเมื่อเทียบกับหลอดที่ 2 และ 3 คือ ในจังหวะที่เรือมีค่า pitch and roll ที่สูงที่เกิดจากการตัดน้ำแข็งหรือคลื่นลูกใหญ่ ค่าอัตราการนับของหลอดวัดสัดส่วนหลอดที่ 1 มีอัตราการนับที่สูงขึ้นตาม สัญนิฐานว่าเกิดจากโครงสร้างภายในของหลอดวัดสัดส่วนที่หลวม ปัญหาอัตราการนับพุ่งสูงขึ้น เกิดขึ้นเฉพาะ high pitch and roll condition
ในการเดินทาง Voyage 2 Araon ได้เริ่มเดินทางจาก Barrow, Alaska ไปยัง บริเวณสำรวจ East Siberian Sea งานวิจัยในครั้งนี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ Physical Oceanography เช่นการทำ Mooring, Side Scan Sonar, Mapping, Sampling for Methane release, Gravity Core และ Heat Flow
งานวิจัย Physical Oceanography ใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ ในระหว่างการเดินทางทำงาน นอกเหนือจากการทำวิจัย นักวิจัยได้มีกิจกรรมสันทนาการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกาย เล่นปิงปอง สังสรรค์งานวันเกิด การตกปลา และ ซาวน่า ก่อนเดินทางกลับยังท่าเรือ Dutch Harbor, Alaska ทุกคน ตั้งหน้าตั้งตารอดูปรากฎการณ์แสงเหนือหรือ Aurora แต่โชคไม่เข้าข้าง เพราะ ในระหว่างการเดินเรือ สภาะอากาศมีเมฆหมอกปกคลุม และคลื่นแรงจนนักวิจัยหลายท่านเกิดอาการเมาเรือ
หลังจากเรือจอดที่ท่า Dutch Harbor นักวิจัยได้ขึ้นฝั่ง เหลือผู้โดยสารเพียงแค่ 2 คน คือ อิ้งค์และทหารเรือ นอกเหนือจากงานวิจัยแล้ว อิ้งค์ยังได้ร่วมทำกิจกรรมอื่นๆในเรือ กับคณะลูกเรืออีกด้วย เช่น การเข้าครัวทำอาหาร หรือเข้าร่วมเล่นเกมชิงเงินรางวัล และการสังเกตการณ์ที่สะพานเรือ นับว่าเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากมากสำหรับคนทั่วไป
คณะลูกเรือได้จัดแข่งขัน Game of Yut เพื่อชิงเงินรางวัล ซึ่งเป็นเกมตามประเพณีดั้งเดิมของชาวเกาหลี ก่อนอื่นทุกคนได้จับฉลากเพื่อจับคู่ ทีมละ 2 คน อิ้งค์ได้คู่กับพี่ลูกเรือ Jae Son คนที่คอยส่งอิ้งค์ทำงานในตู้คอนเทนเนอร์ในทุกๆวัน เราโชคดีมาก หลายครั้งที่เหมือนจะแพ้ แต่เราก็มีโอกาสที่จะชนะเสมอ จนในที่สุดเราได้ที่ 2 และได้รับเงินรางวัล 80 ดอลลาร์ พี่ใหญ๋ดีใจเป็นพิเศษ ทุกคนเข้ามายินดีให้กับอิ้งค์และอวดกันใหญ่
นอกจากนี้ ช่วงเวลาว่าง อิ้งค์ได้เข้าช่วยพ่อครัวในครัว ด้วยความเบื่อหน่ายกับการนั่งกินนอนกิน อิ้งค์ตัดสินใจถามพ่อครัว ให้อิ้งค์ทำอะไรซักอย่างได้ไหม อิ้งค์ถาม 3 ครั้ง เขาจึงอนุญาติ หน้าที่หลักของอิ้งค์ ได้แก่ เตรียม เบคอนและสแปมสำหรับอาหารเช้า ปอกหอม ปอกมันสำปะหรัง และปอกแครอท เป็นการช่วยงานที่อิ้งค์มีความสุขที่สุด เพราะพ่อครัวให้กินของอร่อยก่อนใครและได้ทำอาหารของตัวเองตามสไตล์ที่ตัวเองชอบด้วย
การเดินทางของช้างแวนในครั้งนี้ได้สิ้นสุดลงในรอบปี 2024 ระยะทางในการปฏิบัติงานจาก แอนตาร์กติกสู่อาร์กติก จากละติจูดที่ 75 องศาใต้ สู่ 80 องศาเหนือ รวมระยะเวลา 7 เดือน ถือเป็นปีแรกที่ช้างแวน ได้เดินทางยาวนานที่สุด ในการเดินทางครั้งถัดไปของช้างแวนยังมีความท้าทายและตื่นเต้นอีกมากมาย โปรดติดตามตอนต่อไป to be continue in the next voyage
ขอขอบคุณ ผศ. ดร.วราภรณ์ นันทิยกุล หัวหน้าโครงการ ผศ. ดร.ศิริมาศ โกมลจินดา ผศ. ดร.สุวิชา วรรณวิเชียร อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ. ดร.เดวิด รูฟโฟโล ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงวช.-สวทช. N42A650868 ขอบคุณ ดร.อัจฉรา เสรีเพียรเลิศ นักวิจัยห้องปฏิบัติการดาราศาสตร์ มช. ที่ให้การสนับสนุน ขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนในห้องปฏิบัติการดาราศาสตร์ มช.-ม.มหิดล ขอบคุณ เรือเอก ธีรศักดิ์ ปัญญาภีรวัฒน์ และ คุณกชนิภา ไชยน้อย ที่คอยสนับสนุน ให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำเสมอๆ ขอบพระคุณค่ะ