Jupiter’s Aurora

ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์แก๊สที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่าโลก 11 เท่า แต่มีคาบการหมุนรอบตัวเองเพียง 10 ชั่วโมง ส่งผลให้ดาวพฤหัสบดีมีสนามแม่เหล็กที่แรงมาก และทำให้เกิดออโรราที่โดดเด่นบริเวณขั้วเหนือและขั้วใต้ของสนามแม่เหล็ก

ดาวพฤหัสบดีและภาพถ่ายออโรราบริเวณขั้วฟ้าเหนือและขั้วฟ้าใต้ (Credit: www.jpl.nasa.gov)

ออโรราของดาวพฤหัสบดีที่บริเวณซีกฟ้าเหนือที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope, HST) ในช่วงความยาวคลื่นอัลตราไวโอเล็ต (Ultraviolet) ดาวพฤหัสบดีสามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนตามลักษณะที่ปรากฏและแหล่งอนุภาคที่ทำให้เกิดออโรรา คือ ออโรราวงสว่างหลัก (Main auroral emission), รอยเท้าสนามแม่เหล็กของดวงจันทร์กาลิเลโอ (satellite’s magnetic footprint) และออโรราบริเวณขั้ว (Polar Emissions) 

Jupiter’s auroral components in the northern hemisphere were detected on 21 February 2007 by ACS instrument onboard Hubble Space Telescope.

การศึกษาออโรราของดาวพฤหัสบดีในปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งจากการสำรวจภาคพื้นดินและการสำรวจโดยยานอวกาศ กล้องโทรทรรศน์ที่สำคัญที่ใช้ในการสำรวจมาอย่างยาวนานคือ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ซึ่งถูกส่งขึ้นไปโคจรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 เพื่อถ่ายภาพดาวพฤหัสบดีรวมถึงวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาทางดาราศาสตร์อย่างมาก และในปี พ.ศ. 2554 ยานอวกาศจูโน (Juno Spacecraft) ได้ถูกส่งขึ้นไปจากโลก และเดินทางไปยังดาวพฤหัสบดีเพื่อศึกษาองค์ประกอบ, สนามแรงโน้มถ่วง, สนามแม่เหล็กรวมถึงศึกษาออโรราของดาวพฤหัสบดีอย่างละเอียด

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *