การเดินทางไปขั้วโลกใต้ของ ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม

บันทึกการเดินทางเข้าสู่ขั้วโลกใต้ 2023-2024

Season นี้ได้เป็น Season ที่ 2 แล้วที่ทางทีม Thai-IceCube ได้ส่ง Thai Drilling Engineer อ.ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมขุดเจาะน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้ ซึ่งเป็นภารกิจต่อเนื่องจากการเจาะน้ำแข็งในโครงการ IceCube Upgrade ถึงแม้จะเป็นการเดินทางใน Season ที่สอง แต่รับรองการเดินทางยังคงสนุกและตื่นเต้นเหมือนเดิม เนื้อหาทุกอย่างเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง ซึ่งใน Season ที่หนึ่งนั้นทางทีม Thai-IceCube ได้รับวิศวกรไทยเข้าร่วม Half Season แต่ในปีที่สองนี้จะเป็นการเข้าร่วมแบบ Full Season ซึ่งอยู่เต็มช่วง Full Summer ณ ขั้วโลกใจกลาง ทวีป Antarctica

ในการเดินทาง Seasonที่ 2 นี้ จุด Meeting Point สำหรับ Engineering Team ยังคงเป็นที่ Christchurch เหมือนเดิม โดย Thai Drilling Engineer ได้ออกเดินทางไทยในวันที่ 30 ต.ค. 67 โดยเดินทางจากเชียงใหม่ไปยัง Hong Kong และ Hong Kong ไปยัง Sydney และ จาก Sydney ไปยัง Christchurch ไม่ต้องแปลกใจนะครับว่าทำไมต้องต่อเที่ยวบินหลายต่อ เพราะว่า Drilling Engineering จะได้รับการแจ้งเตือนประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ ก็ออกเดินทาง และในปีนี้ผมได้รับวีซ่าในวันที่ 24 ต.ค. 67  อีก 5 วันต้องออกเดินทางแล้ว รีบหาตั๋วเครื่องบินซิครับ รออะไร เรามีภารกิจใหญ่สำคัญรออยู่ต้องรีบทำ หลังจากทราบข่าวได้รับวีซ่าผมรีบเปิดคอมฯ หาตั๋วเครื่องบินที่เคยเล็งไว้ ปรากฏว่าเต็มหมดทุกเที่ยวเลยครับ แต่ยังเหลืออีก 1 เที่ยวที่น่าสนใจ แต่ต้องอ้อมไปที่ Hong Kong และ ต่อเครื่อง Transit ที่ Sydney แค่ 1 ชั่วโมง คิดในใจ Optimistic นิดหน่อย หากตกเครื่องที่ Sydney ก็ซื้อตั๋วเครื่องบินง่ายละกัน แต่โชคดีรอบนี้วิ่งทันช่วง Transit ครับ ที่กล่าวมาเป็นในส่วนของวิศวกรไทย Grantee ซื้อตัวเครื่องบินเองครับ ส่วนทีมจาก USA เค้าจะมีเอเจนซี่ซื้อให้ และถามจากเพื่อน ๆ ในทีมก็ Hectic พอ ๆ กันครับ  

วันที่ 30 ต.ค. ผมตี่นตั้งแต่ 5.00 น. เพื่อเดินทางไปที่สนามบินเชียงใหม่ Check In ออนไลน์เรียบร้อย พอไปถึงเคาน์เตอร์ที่สนามบินพนักงานแจ้งว่า “น้ำหนักสัมภาระ 29 kg น้ำหนักเกินนะคะ จะนำสัมภาระออกก่อนไหมคะ สายการบินให้น้ำหนักไม่เกิน 20 kg ค่ะ”  ผมคิดในใจ “ความตื่นเต้นเราเริ่มกันตั้งแต่ต้น Trip เลยนะครับ สูดลมหายใจยาว ๆ และใจเย็น ๆ นี่เพิ่งเริ่มและน้ำหนักเกินเป็นเรื่องปรกติ  การที่ต้องเดินทางเป็นเวลา 4 เดือนก็ต้องใช้ของมากมายและเมื่อคืนกว่าจะยัดของลงกระเป๋าได้หมดก็แทบตาย ผมจะไม่ยอมเปิดกระเป๋าอีกตอนนี้และที่นี่เป็นอันขาด” ผมจึงตอบเจ้าหน้าที่ไปว่า “ครับเจ้าหน้าที่ พอดีผมต้องเดินทางไปทำงานวิจัยมี Promotion เรื่องน้ำหนักไหมครับ” เจ้าหน้าที่ตอบว่า “20 kg 3100 บาท ค่ะ” พร้อมกับยื่น Brochure ให้ ผมคิดในใจ “Brochure พร้อมแสดงว่าต้องมีข้อเสนอดี ๆ แน่เลย หรือ เค้ามีไว้สำหรับผู้โดยสารน้ำหนักเกินที่เป็นทาสการตลาดอย่างเรา” สรุปผมบอกเจ้าหน้าที่ไปว่า “ขอซื้อน้ำหนักเพิ่มครับ” ขออนุญาตใช้ Budget โครงการแก้ปัญหาเพราะการเดินทางกระชั้นชิดจริง ๆ หลังจากแก้ปัญหาด้วยการซื้อน้ำหนักสัมภาระเพิ่มได้เรียบร้อยแล้วก็เตรียมตัวไปขึ้นเครื่องและออกเดินทางจากสนามบินเชียงใหม่ครับ ในเรื่องวีซ่าสำหรับการทำวิจัยที่ขั้วโลกใต้ นักวิจัยจะได้รับ “Antarctic Traveller Visitor Visa” ซึ่งสมัครผ่าน “New Zealand Immigration” โดยอายุวีซ่าจะได้คนละ 1 ปี ซึ่งครอบคลุมการเดินทางแน่นอน แค่รอลุ้นให้ได้ก่อนวันเดินทางก็พอ ในระหว่างการเดินทางไปขั้วโลกใต้ครั้งนี้ ทุกอย่างก็ราบรื่นครับ มาถึงช่วงที่เปลี่ยนเครื่อง Transit ที่ Sydney มีเวลาให้เปลี่ยนเครื่อง 1 ชั่วโมงแต่เครื่อง Delay อีก 1 ชั่วโมง ก็โชคดีไปนะครับ แต่ในระหว่างขึ้นเครื่องเค้าขอดูวีซ่า New Zealand ซึ่งผมก็ได้แจ้งไปว่าจะไปที่ Christchurch และบินต่อไปยัง Antarctica ซึ่งเจ้าหน้าที่มองหน้าผมนานมาก แล้วก็แจ้งว่าขอเวลาโทรเช็คกับ Immigration แปปหนึ่ง ก็ใช้เวลาประมาณ 10 นาทีจึงอนุญาตให้ผมขึ้นเครื่อง ทริปนี้เริ่มมีอะไรแปลก ๆ แต่ก็คิดในใจขอให้ราบรื่นพระคุ้มครองนะครับ และแล้วก็บินมาถึงสนามบิน Christchurch ในวันที่ 31 ต.ค. 67 ทาง United States Antarctic Program: USAP ได้จัดเตรียม โรงแรมไว้ให้ที่ BreakFree on Cashel Hotel ในรอบนี้ผมได้ขึ้นรถบัสไปที่โรงแรม โดย Drilling Engineers แต่ละคนจะได้รับ Assign ให้อยู่ในโรงแรมที่แตกต่างกันไปแม้จะได้อยู่ใน Team เดียวกันก็ตาม และในวันที่ 1 พ.ย. 67 Drilling Engineer Team จาก Physical Science Lab PSL, Madison Wisconsin USA ได้เดินทางมาถึง และได้มีการนัด Meeting เพื่อรับประทานอาหารเย็นร่วมกันบริเวณใกล้ที่พัก ซึ่งเป็น Meeting ที่ดูอบอุ่นและตื่นเต้น แต่ละคนได้ Discuss เรื่องงาน, Update ชีวิตของแต่ละคน และเตรียมความพร้อมเดินทางเข้าสู่ขั้วโลกใต้ ตามรูปด้านล่างครับ

บรรยากาศการ Gathering ของ Drilling Engineers ที่ Christchurch, New Zealand

ในวันที่ 2 พ.ย. 67 ได้มีการอบรมออนไลน์เพื่อเตรียมการเดินทาง และวันที่ 3 พ.ย. 67 ได้เดินทางไปที่ Cloth Distribution Center (CDC) เพื่อรับชุด Extreme Cold Weather (ECW) Clothing ป้องกันความหนาวเย็น โดยในปีนี้มี Update มาขึ้นกว่าทุกปี คือ มีการอบรมบรรยาย ซึ่งปีก่อน ๆ จะมีเพียงการแจกเอกสารและเรียกไปลองชุดเลย

การเดินทางไปรับฟังบรรยายการเดินทางเข้าสู่ Antarctica
การเดินทางไปรับฟังบรรยายการเดินทางเข้าสู่ Antarctica

หลังจากฟังบรรยายเรื่องการรับชุดและการเดินทางเสร็จเจ้าหน้าที่ก็จะพาผู้เดินทางทุกคนเข้าไปลองชุด

ชุด Extreme Cold Weather (ECW) Clothing โดยแต่ละคนจะมีชื่อติดอยู่ที่ มุมซ้ายบนของเสื้อ

ซึ่งการลองชุดอาจจะใช้เวลานานหน่อยเนื่องจากว่าจะเป็นการลองครั้งสุดท้ายแล้วคือชุดไหนไม่พอดีก็ต้องรีบเปลี่ยนตอนนี้เพราะศูนย์จะปิดช่วงบ่าย และหากออกเดินทางไปจะเปลี่ยนไม่ได้แล้ว รอบนี้ผมเปลี่ยนเสื้อขอลดขนาดไซซ์มา 1 เบอร์ เสร็จแล้วก็จะแพ็คชุดใส่กระเป๋าดังภาพด้านล่างเพื่อเตรียมตัวออกเดินทางในวันพรุ่งนี้ครับ และ Mission ต่อไปคือไปรับคีย์การ์ดสำหรับใช้คอมพิวเตอร์ครับ

กระเป๋า ของ ดร. ชนะ ก่อนออกเดินทาง

และในช่วงบ่าย ทาง Drilling Team ได้เดินทางไปรับประทานอาหารกลางวันที่บ้านของ Team member คนหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ใน Christchurch ดังภาพด้านล่าง และได้มีการพบปะพูดคุยกัน เนื่องจากพรุ่งนี้เช้าจะได้ออกเดินทางกันแล้ว

BBQ Meeting ก่อนออกเดินทาง

ในวันจันทร์ที่ 4 พ.ย. 67 จะมีรถ Shuttle Bus มารับที่หน้าโรงแรมเวลาประมาณ 5.45 น. และ Drilling Engineer ทุกคนต้อง Check Out จาก โรงแรมให้เรียบร้อย โดยทุกคนจะมาถึงสนามบินเพื่อ Check In ประมาณ 6.30 น. เมื่อมาถึงทุกคนจะมาแพ็คสัมภาระ โดยแต่ละคนจะได้น้ำหนักสัมภาระไม่เกิน 82 lbs. (37.2 kg) ซึ่งของผมชั่งได้น้ำหนัก 90 lbs. แต่รอบนี้ไม่เป็นไร ผมจัดกระเป๋าเปลี่ยนไปไว้ที่ Carry On ซึ่งก็อยู่ตามเกณฑ์พอดี หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะให้ทุกคนเริ่มนำสัมภาระที่จะ Load ใต้เครื่องเข้า Check in ที่เคาน์เตอร์ดังภาพด้านล่าง

เคาน์เตอร์สำหรับ Check In ไป Antarctica

โดยทุกคนจะนำสัมภาระที่จะ Check In ใต้ท้องเครื่องใส่ลงในรถเข็นและต่อแถวเพื่อเดินเข้าไปยัง Passenger Terminal ดังรูปด้านล่าง ซึ่งผู้เดินทางจะมีเสื้อ 2 สี คือ เสื้อสีส้มรูปนกกีวี่จะเป็นทีมของนักวิจัยทาง New Zealand ซึ่งจะเดินทางไปที่สถานีวิจัย Scott Base และเสื้อสีแดงจะเป็นทีมของสหรัฐอเมริกาซึ่งจะเตรียมเดินทางไปที่สถานีวิจัย McMurdo และ ขั้วโลกใต้

การเตรียมตัวเข้า Check In ที่ United State Antarctic Program Passenger Terminal
ซึ่งเครื่องบินที่ใช้ในการบินเข้าสู่ Antarctica ไปที่สถานี Scott Base และ McMurdo ประกอบด้วย C-17 และ CL-130 ของ US Air Force และ LC-130 ของ New Zealand Air Force หลังจาก Check in สัมภาระเสร็จก็จะเป็นการอบรม ก่อนการออกเดินทางอีกครั้งหนึ่ง
การบรรยายก่อนออกเดินทางสู่ทวีป Antarctica

หลังจากนั้นทางสนามบินจะส่ง Shuttle Bus มารับเพื่อเดินทางเข้าสู่ Military Airport โดยจะออกจาก Passenger Terminal ซึ่งจะดำเนินการตรวจสัมภาระ Carry on ด้วยเครื่องสแกนครั้งสุดท้าย ซึ่งในส่วนของเครื่องบินทหารจะไม่เข้มงวดเรื่องของเหลวนะครับ เราสามารถนำของเหลว เช่น น้ำดื่ม กาแฟ ฯลฯ ติดตัวได้ครับ แต่เค้าจะเข้มงวดมากเรื่องแบตเตอรี เจ้าหน้าที่สนามบินจะสแกนละเอียดมาก จะสามารถสแกนจนเจอแบตเตอรี่หากเราเอาเก็บไว้ ซึ่งแบตเตอรี่นั้นอันตรายมาก เนื่องจากมันสามารถติดไฟได้เองในขณะบิน ทางทหารจึงให้นำแบตเตอรี่ทุกชิ้นติดตัวขึ้นเครื่องเสมอ หากเกิดกรณีฉุกเฉินจะได้ดำเนินการป้องกันอัคคีภัยได้ทันครับ

ภาพถ่ายจากบน Shuttle Bus ก่อนออกจาก Passenger Terminal

ระหว่างทางจาก United States Antarctic Program (USAP) Passenger Terminal เข้าสู่สนามบินจะผ่านโรงเก็บเครื่องบิน (Hanger) และเครื่องบินชนิดต่าง ๆ ซึ่งน่าตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก  

โรงเก็บเครื่องบินของ United State Antarctica Program (USAP) ที่สนามบิน Christchurch

รูปด้านล่างคือเครื่องบิน C-130 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีชื่อเรียกว่า เฮอร์คิวลีส ใช้สำหรับบินเข้าสู่ทวีป Antarctica และ ขั้วโลกใต้

เครื่องบิน C-130 เฮอร์คิวลีส ใช้สำหรับบินเข้าสู่ทวีป Antarctica และ ขั้วโลกใต้  

และแล้ว Shuttle Bus ก็นำเราเข้ามาสู่เครื่องบินที่จะออกเดินทางตามรูปด้านล่าง โดยครั้งนี้ทาง Drilling Engineers ได้โอกาสดีได้ออกเดินทางด้วยเครื่องบิน C-17 ซึ่งเป็นเครื่องบินของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาที่ลำใหญ่ที่สุด โดยทุกคนที่จะขึ้นเครื่องจะต้องแต่งชุดหรือ มีชุด Extreme Cold Weather (ECW) Clothing สำหรับอยู่บนเครื่องบิน เนื่องจากขณะใกล้จะถึง Antarctica อากาศจะเย็นมาก โดยการเดินทางจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมงจาก Christchurch Airport ไปยังสถานี Scott Base และ สถานี McMurdo ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องบิน โดยหากเป็นเครื่องบิน C-17 จะบินได้เร็วกว่าเนื่องจากเป็นเครื่องบิน Jet ที่มีกำลังขับเคลื่อนได้มากกว่า ส่วนเครื่องบิน C-130 เฮอร์คิวลีสจะบินได้ช้ากว่าเนื่องจากเป็นเครื่องบินใบพัด ซึ่งการเดินทางจะขึ้นอยู่กับภารกิจและสัมภาระที่ต้องดำเนินการขนส่ง

บรรยากาศการเดินทางด้วย Shuttle Bus ระหว่าง Terminal ไปยังเครื่องบิน
บรรยากาศการเดินทางด้วย Shuttle Bus ระหว่าง Terminal ไปยังเครื่องบิน

โดยเจ้าหน้าที่จะแจกอาหารที่เตรียมให้ ก่อนขึ้นเครื่องบินเพื่อใช้รับประทานระหว่างทาง ลักษณะสัมภาระและที่นั่งผู้โดยสารในเครื่องบินเป็นดังรูปด้านล่าง

ห้องโดยสารของเครื่องบิน C-17

โดยรอบนี้ผมได้ที่นั่งหลังสุด และ ด้านล่างเป็นภาพทะเลน้ำแข็งที่ถ่ายจากหน้าต่างเครื่องบิน โดยจะเห็นน้ำแข็งแบบ Thin ice และ Thick ice ผสมกันไป

ภาพถ่ายจากหน้าต่างเครื่องบิน C-17 ระหว่างการเดินทาง

และแล้วเครื่องบินก็ได้มาถึงยัง สนามบินที่ Antarctica ดังรูปด้านล่าง

เครื่องบินจอดที่สนามบิน McMurdo ทวีป Antarctica

ทางสนามบินได้มีรถ Shuttle Bus มารับดังรูปด้านล่าง ซึ่งเป็นพาหนะที่มีล้อใหญ่มากเพื่อทำให้เดินทางได้ดีบริเวณถนนที่มีหิมะปกคลุม ซึ่งการเดินทางจากสนามบิน Antarctica ไปยังสถานีวิจัย Scott Base และ McMurdo จะใช้ระยะเวลาประมาณ 45 นาที โดยบริเวณ Scott Base ซึ่งเป็นสถานีวิจัยของ New Zealand จะถึงก่อนและ McMurdo จะถึงในภายหลัง

การเดินทางจากเครื่องบินไป Shuttle Bus ที่ Antarctica
Shuttle Bus ที่ Antarctica

ด้านล่างเป็นภาพภายในห้องโดยสารซึ่งบุด้วย Insulator ซึ่งอบอุ่นมาก โดยส่วนมากทุกคนจะนำสัมภาระ Carry on ไปเก็บไว้บริเวณด้านหน้าของห้องโดยสาร

ภายในห้องโดยสารของ Shuttle Bus ที่ Antarctica

และแล้วเราก็เดินทางมาถึงสถานีวิจัย McMurdo นะครับ ซึ่งทุกคนก็ได้ลงจากรถ

Driller Team ขณะลงจาก Shuttle Bus ที่สถานี McMurdo ทวีป Antarctica

และไปรวมตัวกันที่ Garray ด้านในอาคาร พอมาถึงที่สถานีก็จะมีเจ้าหน้าที่มา Orientation การปฏิบัติตัวในการอยู่ที่สถานี และเวลาทำการของโรงอาหาร ซึ่งเย็นนั้นทางทีม Drilling Engineers ได้มี Bag Drag ช่วงเย็น 19.00 น. เพื่อเตรียมตัวออกเดินทางในวันถัดไป โดยข้อมูลรายละเอียดเที่ยวบินจะแสดงในจอ Monitor บริเวณทางเข้าโรงอาหารตามรูปด้านล่าง รอบนี้ทาง Drilling Team จะได้ออกเดินทางด้วย Flight:  ZSP001 ซึ่งต้องไปพบกันที่ Terminal เวลา 7.30 น. เพื่อตรวจเช็ค Passport และสัมภาระก่อนออกเดินทาง

หน้าจอแสดงตารางบินที่ McMurdo ทวีป Antarctica
Driller Team ขึ้น Shuttle Bus ไปยังสนามบินที่ Antarctica

พอตรวจสัมภาระที่ Terminal เรียบร้อยแล้วทุกคนก็จะเดินทางขึ้นรถ และใช้เวลาเดินทางอีกประมาณ 45 นาทีเหมือนเดิมจากสถานี McMurdo ไปยังสนามบิน

เครื่องบิน C-130 Hercules ที่สนามบิน Antarctica

พอมาถึงสนามบิน ผู้โดยสารก็ได้รอจนถึงประมาณ 15.00 น. และเจ้าหน้าที่สนามบินได้แจ้งว่าวันนี้เครื่องบินยังไม่สามารถขึ้นบินได้เนื่องจาก Mechanical Problem และในวันอังคาร Drilling Engineer ก็ได้ออกมาที่สนามบินอีกครั้ง เพื่อรอช่างทำการซ่อมเครื่องบิน ระหว่างรอตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงบ่าย ผู้โดยสารบางคนก็เปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเส้นยืดสาย หรือ บางคนก็นอนหลับบ้างตามอัธยาศัย ส่วนผมก็ออกไปถ่ายรูปเพื่อรอออกเดินทาง และแล้ววันนี้ปาฏิหาริย์ก็ยังไม่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่แจ้งว่าวันนี้ยังซ่อมเครื่องบินไม่เสร็จอาจจะต้องรอออกเดินทางในวันถัดไป

Driller Team รอขึ้นเครื่องบิน C-130 Hercules ที่สนามบิน Antarctica
ดร.ชนะ รอขึ้นเครื่องบิน C-130 Hercules ที่สนามบิน Antarctica

และในวันพุธช่วงเช้าก็ได้มีการออกเดินทางอีกครั้งในโดยออกจากสถานี McMurdo เวลา 7.30 น. และได้มาถึงสนามบินเตรียมการออกเดินทาง โดยผู้โดยสารทุกคนได้เดินทางเข้าไปในเครื่องบิน

ดร.ชนะ รอขึ้นเครื่องบิน C-130 Hercules ที่สนามบิน Antarctica
Driller Team อยู่บนเครื่องบิน C-130 Hercules เพื่อออกเดินทางที่สนามบิน Antarctica

โดยเครื่องบินได้วิ่งบริเวณ Runway และพยายาม Take off ประมาณ 3 รอบ ปรากฏว่ายัง Take off ไม่ขึ้น เนื่องจาก Mechanical Problem ทำให้ไม่สามารถเร่งความเร็วให้ถึงความเร็ว Take off ได้ จึงได้ให้ผู้โดยสารกลับไปยังสถานี McMurdo เพื่อรอออกเดินทางในวันถัดไป

Driller Team ลงจากเครื่องบิน C-130 Hercules หลังจากเครื่องมีปัญหา
Driller Team เตรียมตัวขึ้น Shuttle Bus กลับไปยังสถานี McMurdo หลังเครื่องมีปัญหา

เนื่องจากมีการ Delay จากการเดินทางเป็นอย่างมาก คุณ Kurt Studt ซึ่งเป็นหัวหน้าทีม Drilling Manager จึงได้จัดการประชุมเตรียมแผนการดำเนินการหลังจากไปถึง South Pole ในช่วงเย็นวันนั้น

การประชุมเพื่อเตรียมแผนการทำงานหากเดินทางถึง South Pole ระหว่างเครื่อง Delay

หลังจากนั้นทางสายการบิน ก็ได้มีการเปลี่ยนแผนการเดินทางโดยได้แบ่งทีม IceCube ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกจะเดินทางด้วยเครื่องบินเล็ก Basler และ กลุ่มที่สองเดินทางด้วย C-130 เหมือนเดิมเพื่อเตรียมเดินทางเข้าสู่ Amundsen–Scott South Pole Station โดย Basler จะเป็นเครื่องบินขนาดเล็กซึ่งบรรจุผู้โดยสารได้น้อยกว่าประมาณ 13 คน

เครื่องบิน Basler ที่เดินทางจากสถาณี McMurdo ไปยัง Amundsen–Scott South Pole Station

และแล้วสภาพอากาศก็ยังไม่เอื้ออำนวยเช่นเคย ซึ่งเที่ยวบินทั้งสองเที่ยวบิน Basler และ C-130 ถูกยกเลิกเนื่องจาก Whiteout Conditions หรือ หมอกลงจัดจนแทบมองไม่เห็น และตกเย็นทาง Drilling Team ก็ได้ออกมาเล่นเกม Activity ร่วมกันระหว่างเตรียมออกเดินทาง

กิจกรรมช่วงเย็นระหว่างรอการออกเดินทางในวันถัดไป

และในวันศุกร์ที่ 8 พ.ย. 67 ช่วงเช้าเวลา 7.30 น. ก็ได้เริ่มออกเดินทางอีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มจากทาง Drilling Team เดินทางไปขึ้น Shuttle Bus ดังรูปด้านล่าง

Drilling Team ขึ้น Shuttle ที่สถานี McMurdo เพื่อไปสนามบิน
กังหันลมสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าของสถานี McMurdo และสถานี Scott Base

เวลา 15.00 น. ผู้โดยสารทุกคนก็ได้ขึ้นเครื่องเพื่อออกเดินทาง

Driller Team ขึ้นเครื่องบิน C-130 จากสนามบินที่ McMurdo ไปยัง สถานีวิจัย Amundsen–Scott South Pole Station
ภาพถ่ายจากหน้าต่างเครื่องบิน C-130 ระหว่างเดินทาง
ภาพภายในห้องโดยสารเครื่องบิน C-130 ระหว่างเดินทาง

และได้เดินทางมาถึงประมาณที่ South Pole 18.00 น. โดยครั้งนี้นักบินได้ทดสอบปล่อยสัมภาระทางประตูหลัง และให้ผู้โดยสารเดินทางออกจากเครื่องบินทางประตูหลัง ดังรูปด้านล่าง

ประตูด้านหลังเครื่องบิน C-130 เปิดเพื่อให้นักวิจัยเตรียมตัวออกจากเครื่อง
การลำเลียงผู้โดยสารออกจากเครื่อง C-130 หลังจากมาถึงสถานีวิจัย Amundsen–Scott South Pole Station
Drilling Team มาถึงสถานีวิจัย Amundsen–Scott South Pole Station
ทางเข้าสถานีวิจัย Amundsen–Scott South Pole Station

และ IceCube Drilling Team ก็ได้มาถึงที่สถานี Amundsen–Scott South Pole Station อย่างปลอดภัย โดยทางทีมจะมีการรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับ Station และการอยู่อาศัย โดยเจ้าหน้าที่ได้เตรียมกุญแจห้องสำหรับนักวิจัยแต่ละท่าน ซึ่ง Drilling Team ได้วางแผนพักผ่อนประมาณ 1-2 วันเพื่อปรับตัวให้เข้าระดับความสูงที่ Altitude ประมาณ 2,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยตัวผมเองช่วง 1-2 วันแรก ก็รู้สึกมึนศีรษะ เนื่องจากที่ระดับความสูงเพิ่มขึ้นจะมีปริมาณออกซิเจนลดลง ร่างกายจึงต้องใช้เวลาในการปรับตัว และในวันจันทร์ที่ 11 พ.ย. 67 ทาง Drilling Team ก็ได้เริ่มปฏิบัติภารกิจเตรียมอุปกรณ์เพื่อเตรียมขุดเจาะน้ำแข็งต่อไป

บันทึกการเดินทางไปที่ South Pole 2024-2025 ฉบับไฟล์ PDF